สัปปุริสธรรม 7

20100830-08

                                                             สัปปุริสธรรม 7

           สัปปุริสธรรม หมายถึง ธรรมที่ทำให้คนเป็นสัตบุรุษ (คนดี) หรือคุณสมบัติของผู้ดีมี 7 ประการ คือ

1. การรู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา) เช่น รู้จักว่าสิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ จึงจะทำให้เกิดผลที่ต้องการ เป็นต้น
2. การรู้จักผล (อัตถัญญุตา) เช่น รู้จักว่าสุขและทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันใด หรือรู้ว่าสิ่งที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง เป็นต้น
3. การรู้จักตน (อัตตัญญุตา) เช่น รู้ว่าตนคือใคร มีฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัด คุณธรรม เป็นต้น บัดนี้เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
4. การรู้จักประมาณ (มัตตัญญุตา) หรือรู้จักความพอดี ในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตและรู้จักประมาณในการจับจ่ายใช้สอย
5. การรู้จักกาล (กาลัญญุตา) เช่น รู้ว่ากาลไหนควรทำอะไร หรือรู้ว่าจะทำสิ่งใดต้องให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
6. การรู้จักชุมชน (ปริสัญญุตา) เช่น รู้ว่าคนกลุ่มนี้เมื่อเข้าไปหาจะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดแบบนี้ จะต้องสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น
7. การรู้จักบุคคล (ปุคคโลปรปรัญญุตา) เช่น รู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ว่าแต่ละคนมีนิสัย ความสามารถ ความชอบ คุณธรรมแตกต่างกัน ควรคบหรือไม่ หรือเมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยควรปฏิบัติต่อเขาอย่างไร จะใช้วิธีการตำหนิ ยกย่อง หรือแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น

         กล่าวโดยสรุปแล้ว สัตบุรุษ คนดีหรือผู้ดีนั้น จะต้องเป็นคนที่รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ชุมชน (หรือสถานที่) รู้บุคคลเป็นอย่างดี จึงจะถือว่าเป็นผู้ที่ฉลาดในทุกที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่ออย่างแท้จริง

อ้างอิง:https://krujiraporn.wordpress.com/2011/07/05/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97-5/