เถรวาท

chinaraj.gif

                                พระพุทธศาสนา เถรวาท ~ Theravada หรือ หินยาน

นิกายเถรวาท หรือ หินยาน เป็นนิกายเก่าแก่ที่สุด ยึดถือพระธรรมวินัยเดิมอย่างเคร่งครัด นับถือมากในไทย พม่า เขมร ลาว ศรีลังกา

คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา

    เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน สาวกผู้ได้เคยสดับฟังคำสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนากัน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สอบปากคำกันอยู่ 7 เดือน จึงตกลงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นี่คือบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก ต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เป็นสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุด

     เนื่องจากภาษามคธที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ครั้นกาลเวลาล่วงไปก็ค่อยๆ กลายเป็นภาษาโบราณ ยากที่จะเข้าใจได้ทันทีสำหรับนักศึกษารุ่นหลังๆ จึงได้มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ชี้แจงความหมายเรียกว่า อรรถกถา เมื่อนักศึกษารู้สึกว่าอรรถกถายังไม่ชัดเจนก็มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ฎีกาขึ้นชี้แจงความหมาย และมีอนุฎีกาสำหรับชี้แจงความหมายของฎีกาอีกต่อหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะปัญหาก็นิพนธ์ชี้แจงเฉพาะปัญหาขึ้นเรียกว่า ปกรณ์ เหล่านี้ถือว่าเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น แต่ทว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ตีความ นักศึกษาจะเห็นกับบางคัมภีร์ และไม่เห็นด้วยกับบางคัมภีร์ก็ได้ ไม่ถือว่ามีความเป็นพุทธศาสนิกมากน้อยกว่ากันเพราะเรื่องนี้

“พระไตรปิฎก~Tipitaka” คือ คัมภีร์คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

แบ่งเป็น 3 หมวด คือ
1. พระสุตตันตปิฎก รวมคำสอนของพระพุทธเจ้า และพระสาวก
2. พระวินัยปิฎก ศีลของพระภิกษุ และพิธีกรรมทางศาสนา
3. พระอภิธรรมปิฎก รวมหลักธรรมชั้นสูง

พระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทเป็นภาษามคธ ฝ่ายมหายานเป็นภาษาสันสกฤต

หลักธรรมที่สำคัญ ได้แก่

อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ ได้แก่
1. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ได้แก่ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
2. สมุทัย คือ ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 ประการ
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ การหมดกิเลส คือ นิพพาน
4. มรรค คือ ทางดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรค มีองค์ 8

                                                                  มรรค ๘

สัมมาทิฏฐิ

-ความเห็นชอบ

สัมมาสังกัปปะ

-ความดำริชอบ

สัมมาวาจา

-เจรจาชอบ

สัมมากัมมันตะ

-การงานชอบ

สัมมาอาชีวะ

-เลี้ยงชีพชอบ

สัมมาวายามะ

-เพียรชอบ

สัมมาสติ

-ระลึกชอบ

สัมมาสมาธิ

-ตั้งใจชอบ

เจรจาชอบ
การงานชอบ
เลี้ยงชีพชอบ

เพียรชอบ
ระลึกชอบ
ตั้งใจชอบ

เห็นชอบ
ดำริชอบ

ศีล

สมาธิ

ปัญญา

อ้างอิง:http://www.dhammathai.org/buddhism/theravada.php